Essential Oil

peppermint

อาการคัดจมูก ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตลดลง  พบได้บ่อยและไม่จำเพาะเจาะจงกับโรคใดโรคหนึ่ง  แพทย์จะทำการวินิจฉัยโรคโดยการซักประวัติทั่วไป  ประวัติการรับประทานยา  ตรวจร่างกาย เพื่อเป็นข้อมูลในการวินิจฉัยโรค น้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันเปปเปอร์มินท์ สามารถ บรรเทาอาการคัดจมูกได้ สาเหตุ 1. จมูกอักเสบจากภูมิแพ้ 2. จมูกอักเสบจากการติดเชื้อ อาจเกิดจากไวรัส แบคทีเรีย หรือ เชื้อรา 3. ผนังกั้นช่องจมูกคด 4. มีสิ่งแปลกปลอมในจมูก มักพบในเด็กเล็กที่ชอบใส่ สิ่งของเล็ก ๆ ในรูจมูก เช่น ยางลบ ก้อนกรวด เม็ดน้อยหน่า หรือ เมล็ดพืชเล็ก ๆ 5. ริดสีดวงจมูก หรือ เนื้องอกในโพรงจมูก 6. โรคเยื่อบุจมูกเหี่ยวฝ่อ 7. ภาวะความผิดปกติของช่องจมูก และ โพรงจมูก ตามที่แพทย์วินิจฉัย 8. เกิดจากยาขยายหลอดเลือดบางชนิด เช่น ใช้ยาหดหลอดเลือดนานเกินไป ยาจำพวก Aspirin, Nonsteroidal, Anti-inflammatory drugs […]

บรรเทาคัดจมูกด้วยน้ำมันหอมระเหย Read More »

Lavender fields

ลาเวนเดอร์เป็นน้ำมันหอมระเหยที่ใช้กันมานานในยุโรป ทั้งในด้านอโรม่าเทอราพี และผสมในน้ำมันนวด มีการศึกษามากมายทั้งในมนุษย์และสัตว์พบว่า น้ำมันหอมระเหยลาเวนเดอร์ มีฤทธิ์ช่วยลดความกระวนกระวาย (sedative) คลายความกังวล (anxiolytic) ทำให้จิตใจสงบ (mood moderate) ช่วยให้หลับสบายดียิ่งขึ้น นอกจากนี้การทดลองในหลอดทดลอง (in vitro) ยังพบว่ามีฤทธิ์ยับยั้ง แบคทีเรีย เชื้อราและแมลงหลายชนิดด้วยกัน ประเทศที่ปลูกลาเวนเดอร์มาก ได้แก่ ฝรั่งเศส จีน สเปน อังกฤษ ออสเตรเลีย รัสเซีย ยูเครน และ บัลแกเลีย ฯลฯ ลาเวนเดอร์มีมากกว่า 30 สายพันธุ์  แต่ที่นิยมนำน้ำมันหอมระเหยมาใช้ ได้แก่ True Lavender บางทีก็เรียกว่า English Lavender มาจากพันธุ์ Lavandula angustifolia หรือในชื่อเก่าเรียกว่า Lavandula officinalis หรือ Lavandula Vera  True Lavender เจริญเติบโต ขยายพันธุ์ที่ระดับความสูง 600

น้ำมันหอมระเหยลาเวนเดอร์ มีกี่ชนิด? Read More »

การสกัดสารระเหยจากพืชมีหลายวิธีด้วยกัน การสกัดบางวิธีก็ให้น้ำมันหอมระเหย (True essential oil) การสกัดบางวิธีก็ได้สารระเหยที่สกัดจากพืช (Aromatic extracts) ซึ่งเราไม่ถือว่าเป็นน้ำมันหอมระเหย  น้ำมันหอมระเหยจะได้จากการกลั่นจากไอน้ำ (Distillation) และการบีบ (Expression) เท่านั้น ในงานสุวคนธบำบัด (Aromatherapy) แบบดั้งเดิมจะใช้เฉพาะน้ำมันหอมระเหย (True essential oil) เท่านั้น แต่ในระยะหลังการนำเอาสารสกัดจากพืช (Aromatic extracts) มาใช้ใน Aromatherapy ได้รับการยอมรับมากขึ้นโดยลำดับ ดูในรูปจะพบความแตกต่างในการสกัดสารจากพืชที่เป็นน้ำมันหอมระเหย (Essential oil) และ สารระเหยจากพืช (Aromatic extracts) การสกัดน้ำมันหอมระเหยมีหลายวิธี คือ 1. การกลั่น (Distillation) 1.1) การกลั่นด้วยน้ำ (Water Distillation) วิธีนี้ทำโดยนำพืชที่เราต้องการสกัด ใส่ลงไปในภาชนะ ซึ่งในภาชนะนั้นมักจะมีตะแกรงสำหรับวางพืชชนิดที่เราต้องการกลั่น จากนั้นก็เติมน้ำสะอาดน้ำจนท่วมพืชที่ต้องการกลั่น แล้วต้มน้ำจนเดือดกลายเป็นไอน้ำ การที่ต้องมีตะแกรงก็เพื่อป้องกันไม่ให้ความร้อนถูกกับพืชโดยตรง เพราะน้ำมันหอมระเหยที่ได้อาจจะมีกลิ่นไหม้ผสมได้ น้ำมันหอมระเหยและน้ำ ในพืชชนิดนั้นๆ ระเหยขึ้นไป จากนั้นไอระเหยก็จะถูกทำให้เย็นลงเพื่อให้กลับมาเป็นของเหลวอีกครั้ง ซึ่งในขั้นตอนนี้

การสกัดน้ำมันหอมระเหย Read More »

Clove-Leaf-Bud

ในการขนส่งหรือส่งออก ปลาไปในที่ไกลๆ หรือไปต่างประเทศ มีแนวโน้มที่จะใช้สารจากธรรมชาติมากกว่าสารเคมี เพื่อให้ปลาสลบคงความสด(ยังมีชีวิตเมื่อถึงปลายทาง) รวมทั้งมีข้อตกลงใหม่ทางการค้าที่บังคับให้ใช้สารจากธรรมชาติ เนื่องจากคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคมากขึ้น ในส่วนของปลาสวยงามก็นิยมใช้นำมันกานพลูทำให้ปลาสงบ ลดความบอบช้ำของปลาเมื่อต้องส่งปลาสวยงามออกไปต่างประเทศ อีกทั้งน้ำมันกานพลูยังเป็นสารธรรมชาติ ไม่ตกค้างในตัวปลาและปลอดภัยสำหรับปลาสวยงามเมื่อใช้อย่างถูกวิธี นอกจากนี้น้ำมันกานพลูยังใช้ทำให้ปลาสวยงามสลบเพื่อการผ่าตัดปลาได้ด้วย น้ำมันกานพลูเป็นน้ำมันหอมระเหยชนิดหนึ่งที่สกัดจาก ดอกตูมแห้งและใบของต้นกานพลู (Syzygium aromaticum) น้ำมันกานพลูมักจะถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมน้ำหอม อาหาร ทำยาสลบปลาธรรมชาติ และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับฟันและช่องปาก เช่น ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปากและยาชาที่ทันตแพทย์ใช้กัน น้ำมันกานพลูมีส่วนประกอบหลักที่สำคัญคือ Eugenol ประมาณ 49-87%, β-caryohyllene ประมาณ 4-21%, Eugenyl acetate ประมาณ 0.5-21% ปัจจุบันมีนักเพาะเลี้ยงปลาสวยงามจำนวนมาก นำน้ำมันกานพลูมาใช้เป็นยาสลบปลาก่อนการผ่าตัด หรือทำ ให้ปลาสงบลงก่อนการย้ายปลาหรือการขนส่งในระยะทางไกล ทดแทนสารเคมีที่เป็นยาสลบ เนื่องจากเป็นสารจากธรรมชาติและมีผลข้างเคียงต่อปลาน้อยมาก ปลาสามารถฟื้นตัวเร็วและอัตราการตายต่ำมาก หลังจากที่ฟื้นแล้ว ถ้าใช้อย่างถูกต้อง สารที่ทำให้ปลาสลบ ก็คือ Eugenol ที่มีอยู่ใน น้ำมันกานพลูนั่นเอง โดยทั่วไปน้ำมันกานพลูมี 2 ชนิด จะถูกสกัดมาจาก 1. ดอกตูมแห้งของกานพลู ซึ่งจะมี

น้ำมันกานพลู (Clove Oil) ยาสลบปลา จากธรรมชาติ Read More »

Eucalyptus-Globulus-Tree

คุณสมบัติและประโยชน์ น้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัส  มีคุณสมบัติบรรเทาอาการหวัด ช่วยให้ หายใจโล่ง บรรเทาอาการคัดจมูก ช่วยให้รู้สึกสดชื่น ยังมีคุณสมบัติไล่ยุง และ แมลง ก่อนนำไปใช้กับผิวหนัง ต้องทำให้เจือจางก่อน มิฉะนั้นอาจทำให้ผิวหนังระคายเคืองได้  การทำให้เจือจางสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้ การนำไปใช้ +ต้องทำให้เจือจางเสมอ เช่น ผสมน้ำมันพื้นฐาน หยดลงในน้ำ หยดผ่านผ้าเช็ดหน้า ผสมเอธิลแอลกอฮอล์ อัตราส่วนการใช้น้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัส  ใช้กับผิวกายไม่ควรเกิน 3 % +ผสมกับน้ำมันพื้นฐานเป็นน้ำมันนวด เช่น น้ำมันงา,น้ำมันมะกอก ,น้ำมันสวีทอัลมอนด์ , น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ หรือน้ำมันพืชอื่น ที่เป็น Cosmetic grade โดยมีอัตราส่วน 3% +ใช้เป็นสเปรย์ฉีดในห้องนอน หรือ ห้องนั่งเล่น ช่วยให้หายใจโล่งเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคหวัด หรือ ฉีดในที่ ๆ มียุงชุม ไล่ยุง ป้องกันยุงกัดได้ 1 – 2 ชั่วโมง นิยมผสมกับ น้ำมันหอมระเหยเปปเปอร์มินท์ +การนำไปใช้กับผ้าเย็น

น้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัส-คุณสมบัติและประโยชน์ Read More »

Lavender Flowers

     สวน ลาเวนเดอร์  มีอยู่ทั่วโลก ทั้งในแถบประเทศ มดิเตอร์เรเนียน  ออสเตรเลีย  เอเซีย  ยุโรป สหรัฐอเมริกา  ดังนั้นราคาน้ำมันหอมระเหยลาเวนเดอร์จะแตกต่างกัน  ขึ้นอยู่กับแหล่ง เพาะปลูก วิธีการกลั่น  วิธีการกลั่นให้ได้ลาเวนเดอร์คุณภาพดีที่สุด คือ กลั่นโดยใช้คาร์บอนไดออกไซด์เหลว ซึ่งมีต้นทุนสูงมาก รองลงมาคือการกลั่นแบบ Steam Distillation         มีหลักฐานว่าชาวอียิปต์ โบราณใช้น้ำมัน ลาเวนเดอร์เป็นส่วนหนึ่งในการรักษาสภาพมัมมี่  เป็นน้ำมันหอมชั้นสูง บางตำนานก็เชื่อว่าน้ำมันหอมที่ใช้ ในการเจิมพระเยซู ที่กล่าวถึงใน คัมภีร์ไบเบิ้ลเป็นน้ำมันลาเวนเดอร์ บางตำนานก็เชื่อว่า อาดัม และอีวา  เป็นผู้นำ  ลาเวนเดอร์ มาจากสวนอีเดน  และทหารโรมันนำน้ำมันลาเวนเดอร์มาทำความสะอาดบาดแผล จากการต่อสู้       คำ ว่า  Lavender อาจจะมาจาก คำละติน” lavere”หมายถึง”ล้าง” นี้อาจเกิดจากการที่ชาวโรมันโบราณ รู้จัก ใช้น้ำมันลาเวนเดอร์ในห้องอาบน้ำสาธารณะ  และอาจเป็นเพราะผู้หญิงสมัยนั้น

ตำนานลาเวนเดอร์ Read More »

Shopping Cart
Scroll to Top