เมื่อจมูกเราได้กลิ่นน้ำมันหอมระเหย บางชนิดจะหอมไม่นาน ร่างกายจะรับรู้ได้ไว เช่น ยูคาลิปตัส ตะไคร้หอม เปปเปอร์มินท์ และกลิ่นเหล่านี้ก็จะจางไปเร็ว เช่นกัน ส่วนน้ำมันที่กลั่นมาจากดอกไม้จะหอมสดชื่น ได้นานกว่าเช่น ลาเวนเดอร์ โรสแมรี่ เจอราเนียม หากเราทำการผสมน้ำมัน 2 อย่างขึ้นไป เมื่อเวลาผ่านไป กลิ่นที่เรารับรู้ก็จะเปลี่ยนไปตามระยะเวลาที่น้ำมันระเหย
ในยุคศตวรรษที่ 19 นี้เอง Mr.Septimus Piesse ชาวฝรั่งเศส เป็นผู้ให้คำนิยามถึงการแบ่งประเภทน้ำมันหอมระเหยตามระยะเวลาที่ระเหยว่าเป็น Essential Oil Notes แบ่งออกเป็น 3 ระดับได้แก่ Top Notes , Middle Notes และ Base Notes ซึ่งมาจากการผสมน้ำมันหอมระเหยที่เข้ากันได้ดีหลาย ๆ อย่างเข้าด้วยกัน เมื่อเวลาผ่านไป กลิ่นของน้ำมันที่ระเหยเร็วกว่า ค่อย ๆ ระเหยออกไป และ คงกลิ่นที่ยังระเหยไม่หมด เปรียบเสมือน โน๊ตดนตรีที่ผสมผสานกันอย่างไพเราะกลมกลืนน้ำมันหอมระเหยที่ระเหย หมดไปภายในเวลา 1 – 2 ชั่วโมง เรียกว่า Top Notes น้ำมันหอมระเหยที่ระเหย หมดไปภายในเวลา 2 – 4 ชั่วโมง เรียกว่า Middle Notes ส่วนน้ำมันหอมระเหยที่ยังคงกลิ่นได้นานกว่านี้ เรียกว่า Base Notes
อย่างไรก็ตามยังไม่พบข้อมูลที่เป็นการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ที่จะวัดการระเหย ที่แน่นอน เป็นเพียงความรู้สึกของผู้แบ่งประเภทเท่านั้น พืชชนิดเดียวกันแต่ปลูกต่างถิ่นกันจะมีคุณสมบัติต่างกันเล็กน้อย ดังนั้นพืชบางชนิด จัดอยู่ใน Top to Middle Note และ Middle to Base Note
Top Notes : เช่น ยูคาลิปตัส มะนาว โหระพา มะกรูดฝรั่ง ส้ม เปปเปอร์มินท์ จะให้ความรู้สึกเร็ว สดชื่น กระตุ้นให้ตื่นตัว
Middle Notes : เช่น เจอราเนียม เนโรริ ลาเวนเดอร์ โรสแมรี่ มาเจอแรม คาร์โมมายด์ จูนิเปอร์ ซึ่งดอกไม้เหล่านี้ มักนำมาเป็นส่วนผสมหลักของน้ำหอมธรรมชาติ
Base Notes: เช่น พิมเสนใบ มะลิ แฟรงคินเซนต์ ไม้จันทน์หอม ช่วยให้ ผ่อนคลาย จะมีกลิ่นนาน เกิน 4 ชั่วโมงหรือ เป็น วัน ๆ
การผสมน้ำมันหลาย ๆ Notes เข้าด้วยกัน Top Notes 15 – 25%, Middle Notes 30 – 40 % และ Base Notes 45 – 55% เริ่มจาก Top Notes ผสมกับ Middle Notes คนหรือเขย่าในขวดผสมให้ละลายเป็นเนื้อเดียวกัน ในถ้วยเซรามิค หรือ ถ้วยแก้ว หรือ ขวดแก้วสีทึบ แล้วจึงเติม Base Notes คนหรือเขย่าให้เข้ากัน หากผสมจำนวนมากควรปิดฝาขวดให้แน่น ในการนำมาใช้แต่ละครั้ง ควรเช็ดคราบน้ำมันบริเวณปากขวดให้สะอาด มิฉะนั้นหากทิ้งไว้นานจะมีกลิ่นหืน