Code No : ET-013
ชื่อไทย : ไพล
ชื่อสามัญ : Plai
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber Cassumunar,Roxb (Thailand )
วิธีกลั่น : ไอน้ำ ( Steam Distillation )
ส่วนที่ใช้: ราก (Root )
น้ำมันอื่นที่ผสมได้ดี: Basil, Bergamot, Black Pepper, Eucalyptus , Ginger, Juniper, Lavender, Lemongrass, Lime, Peppermint, Rosemary, Spearmint, Tea Tree
Note: Middle
ประวัติ :
มีถิ่นกำเนิด จาก อินโดนีเซีย มาเลเซีย อินเดีย ในไทยปลูกมากแถบ สระแก้ว ปราจีนบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และ ทางภาคอีสาน มีชื่อเรียกต่าง ๆ ตามท้องถิ่น เช่น ปูลอย ปูเลย (ภาคเหนือ) ว่านไฟ (ภาคกลาง) มิ้นสะล่าง(ฉาน-แม่ฮ่องสอน) เป็นไม้ล้มลุกสูง 0.7-1.5 เมตร มีเหง้าใต้ดิน เปลือกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีเหลืองถึงเหลืองแกมเขียว แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอ ซึ่งประกอบด้วยกาบหรือโคนใบหุ้มซ้อนกัน ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 3.5-5.5 เซนติเมตร ยาว 18-35 เซนติเมตร ดอกช่อ แทงจากเหง้าใต้ดิน กลีบดอกสีนวล ใบประดับสีม่วง ผลเป็นผลแห้งรูปกลม ต้นไพลเป็นสมุนไพรที่นำมาใช้ประโยชน์ ตั้งแต่เหง้าแก่ หัว ดอก ต้น ใบ ส่วนที่นำมาสกัดน้ำมันคือเหง้าแก่ การสกัดด้วยวิธีกลั่นแบบไอน้ำ จะรักษาคุณภาพได้ดีกว่าการกลั่นแบบบีบเย็น
คุณสมบัติและประโยชน์ :
น้ำมันหอมระเหยไพลสกัดจากเหง้าไพล เป็นที่รู้จักแพร่หลายในต่างประเทศ เนื่องจาก เป็นพืชตระกูลขิง ชาวต่างประเทศจึงเรียกว่า Thai Ginger Oil ด้วยคุณสมบัติบรรเทาอาการปวดเมื่อย ขับลมในท้อง บรรเทาอาการอักเสบ แก้ปวดบวม ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา ยาชาเฉพาะที่ และยังบรรเทาอาการหวัด ไล่ยุง ไล่แมลง มีกลิ่นหอมระดับกลาง ทำให้ผ่อนคลาย น้ำมันหอมระเหยไพลเป็นที่แพร่หลาย อยู่ในรูปแบบ ของน้ำมันนวด ครีม ขี้ผึ้ง นอกจากนี้ ยาขี้ผึ้งไพล ยาน้ำมันไพล ซึ่งเป็นยาภายนอก ยังจัดอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ (บัญชียาสมุนไพร)ด้วย น้ำมันหอมระเหยไพลยังเป็นที่นิยมนำมาเป็นน้ำมันนวดแผนไทย และในสปาอีกด้วย
วิธีการใช้ :
-ผสมกับน้ำมันพื้นฐาน เช่น น้ำมันสวีทอัลมอนด์ น้ำมันเมล็ดองุ่น น้ำมันมะกอก ฯ เป็นน้ำมันนวด ในอัตราส่วน น้ำมันหอมระเหยไพล 3 % นวดร่างกาย
-ผสมกับน้ำมัน เมล็ดมะรุม ทาแก้แผลอักเสบ เชื้อรา ในอัตราส่วนน้ำมันหอมระเหยไพล 10 % เฉพาะบริเวณที่ต้องการบำบัด
-สามารถผสม น้ำมันหอมระเหยพริกไทยดำ น้ำมันหอมระเหยส้ม และ น้ำมันหอมระเหยไพล ในอัตราส่วน รวมกันไม่เกิน 3% กับน้ำมันพื้นฐานเป็นน้ำมันนวด ด้วยคุณสมบัติและกลิ่นเหล่านี้ช่วยบรรบรรเทาอาการข้ออักเสบปวดเมื่อย ข้ออักเสบ และช่วยผ่อนคลาย
– น้ำมันหอมระเหยไพล สามารถไล่ยุงไล่แมลงได้ โดยหยดใส่โคมไฟฟ้าอโรมา หรือ ผสมเอธิลแอลกอฮอล์ ฉีดพ่น ในบริเวณที่มียุงรบกวน
ข้อแนะนำในการใช้ :
-ใช้ภายนอก ห้ามรับประทาน
-ห้ามสัมผัสผิวหนังโดยตรงต้องทำให้เจือจางก่อน
-เด็ก สตรีมีครรภ์ และ ระหว่างให้นมบุตรไม่ควรใช้
-ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ควรปรึกษาแพทย์แผนปัจจุบันก่อนนำไปใช้
30, 100 มล.
ขนาด: 500 กรัม และ 1,000 กรัม กรุณาสอบถามที่
Line Official : @aromahub
Email : info@aromahub.com